แนวคำถาม (Nomination Form) ในการสมัครขอรับรางวัล 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2557 – 2562)

แชร์หน้านี้

แนวคำถามในการสมัครขอรับรางวัล 5 ปีย้อนหลัง (.. 2557 – 2562)


การสมัครขอรับรางวัลฯ ในทุกสาขารางวัล ผู้เสนอขอรับรางวัลฯ ต้องตอบคำถามหลัก หรือ
Nomination form เป็นการตอบคำถามหลักเกี่ยวกับผลงานที่สมัคร (ในแต่ละหัวข้อมีการจำกัดจำนวนคำตอบ)  ซึ่งข้อคำถามในแต่ละปีมีความเหมือนและแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแนวโน้มการบริการภาครัฐและสาขาที่เปิดรับสมัครรับรางวัลฯ โดยคำถามในแต่ละข้อจะมีคะแนนตามลำดับความสำคัญและเนื้อหาที่ผู้เสนอขอรับรางวัลฯ ต้องตอบคำถาม


แนวทางของคำถามในการสมัครขอรับรางวัลฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2557 2558 ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ดังนี้  
1) การวิเคราะห์ปัญหา ปัญหาหรือสถานการณ์ก่อนที่จะริเริ่มโครงการคืออะไร สถานการณ์ก่อนที่จะมีการแก้ไขปัญหา โดยต้องเป็นประเด็นสาธารณะ และ/หรือส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก หรือกลุ่มใดที่ได้รับผลกระทบอีกบ้าง

2) กลยุทธ์การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา ใครคือผู้เสนอแนวทาง และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างจากรูปแบบเดิมอย่างไร รวมทั้งวิธีการสร้างความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมที่ใช้
3) การดำเนินการและนำไปปฏิบัติ ทรัพยากรที่นำมาใช้ (งบประมาณ กำลังคน ด้านเทคนิค และวิธีการจัดสรรทรัพยากร) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการดำเนินการแก้ไข และแนวทาง/ขั้นตอนในการทำงาน และสิ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จเป็นผลลัพธ์ที่โครงการสามารถสะท้อนถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ  

4) ผลกระทบและความยั่งยืนของโครงการ ผลสำเร็จและผลที่ได้รับจากโครงการ แสดงข้อมูลการวัดผล และข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน


สำหรับคำถามการสมัครขอรับรางวัลในปี พ.ศ. 2560 มีแนวทางของคำถามใกล้เคียงกันกับของปี พ.ศ. 2557 2558 คือ วิเคราะห์ปัญหา กลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหา และผลกระทบที่เกิด


สำหรับข้อคำถามในการสมัครขอรับรางวัล ปี พ.. 2561-2562  

มีความเชื่อมโยงกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 โดยมีคำถามหลัก ดังนี้

1) วัตถุประสงค์ของผลงาน วัตถุประสงค์หลักของผลงานที่ส่งเข้ารับรางวัล

2) ความสอดคล้องกับประเภทรางวัลและเกณฑ์การพิจารณา ความสอดคล้องของผลงานกับประเภทรางวัล

3) ความสอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 โดยต้องอธิบายแนวทางการดำเนินงานที่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

4) ความสำคัญ ผลงานหรือโครงการต้องส่งผลกระทบเชิงบวกต่อกลุ่มประชากรเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ด้อยโอกา

5) นวัตกรรม  ความเป็นนวัตกรรมของผลงานในบริบทของประเทศหรือภูมิภาคนั้น ๆ 

6) การถ่ายทอดความรู้ การถ่ายทอดความรู้หรือประยุกต์ใช้กับหน่วยงานในประเทศ หรือในภูมิภาค

7) ทรัพยากรและความยั่งยืน  ทรัพยากร (ด้านการเงิน ด้านทรัพยากร บุคคล และอื่น ๆ)

8) ผลกระทบ ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินผลกระทบ และผลลัพธ์จากการประเมิน

9) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แนวทางการดำเนินงาน การสร้างความร่วมมือการบูรณาการ และความเท่าเทียมกันของทุกภาคส่วนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030


จากแนวคำถามในการสมัครขอรับรางวัล 5 ปีย้อนหลัง (.. 2557 – 2562) สามารถแบ่งคำถามออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้




ที่มา

สำนักงานพัฒนาระบบราชการ (2562).  คู่มือแนวทางการสมัครขอรับรางวัล United Nations Public Service Awards 2019. กรุงเทพมหานคร


Public Institutions and Digital Government Department of Economic and Social Affairs (2019). Past UNPS Days. Retrieved August 11, 2019,

from: https://publicadministration.un.org/en/unpsa