แนวทางการเขียนผลงานเพื่อเสนอขอรับรางวัล United Nations Public Service Awards (UNPSA) ขององค์การสหประชาชาติ
การเขียนผลงานเพื่อให้ได้รับรางวัล
UNPSA ถือเป็นหัวใจสำคัญอยู่ที่การเขียนที่สามารถตอบโจทย์จากคำถามหลักได้ครบทุกข้อคำถาม
ต้องสามารถชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามีผลกระทบอย่างไรกับกลุ่มเป้าหมาย
และเมื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ผลลัพทธ์ที่ได้เป็นอย่างไร และควรเขียนให้เห็นถึงแผนการดำเนินงาน
หรือเป้าหมายในอนาคตด้วย โดยมีแนวทาง ดังนี้
1) ศึกษาเกณฑ์การพิจารณารางวัล
เกณฑ์การพิจารณามีความแตกต่างกันในแต่ละปี
โดยในปี พ.ศ 2560 – 2562 มีทิศทางการพิจารณาที่สอดรับกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน
2030 ดังนั้น ผลงานที่ส่งเข้ารับรางวัลฯ ควรเป็นผลงานที่มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
และความสําคัญของผลงานต้องส่งผลกระทบในทางที่ดีกับประชากรส่วนใหญ่ มีนวัตกรรมที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์
และชัดเจนสนับสนุนการพัฒนาอย?างยั่งยืนตาม SDGs
การถ?ายทอดความรู้ ความยั่งยืน และผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
2) ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์/เป้าหมายของแต่ละสาขารางวัลฯ
ที่เปิดรับสมัคร โดยเป้าหมายของรางวัลระหว่างที่มีการการปรับเกณฑ์การพิจารณา
และสาขาของรางวัล เมื่อปี พ.ศ. 2559 มุ่งเน้นให้สอดรับกับ
SDGs
3) วิเคราะห์ผลงานหรือโครงการที่จะนำเสนอ
พิจารณาว่าผลงานสามารถเสนอขอรับรางวัลในสาขาใด
(Category) ให้ชัดเจน
เนื่องจากเมื่อส่งใบสมัครจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสาขาได้
ซึ่งหากเลือกสาขาได้ถูกต้องจะเพิ่มโอกาสในการได้รับรางวัล
4) แนวทางการตอบคำถามหลัก
(Nomination
Form) คำถามหลักเป็นการตอบคำถามออนไลน์เกี่ยวกับผลงานที่จะสมัคร
โดยในการตอบนั้นจะมีการกำหนดจำนวนคำไว้
ไม่ควรตอบเกินกำหนด เพราะจะทำให้การสมัครไม่ถูกพิจารณา (สามารถใช้โปรแกรม
Microsoft Word ช่วยในการนับคำได้) นอกจากนี้ควรใช้ตัวเลขเชิงสถิติสนับสนุนการอธิบายด้วย
และต้องแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนที่ยั่งยืนหรือ SDGs
รูปแบบหรือโครงสร้างการเขียนที่ดี
ลักษณะการเขียนที่ดีควรมีความครบถ้วนในเนื้อหา
ตามหลัก
7C
[1]ดังนี้
1) Correctness
ความถูกต้อง
2) Cogency
ความมีเหตุผลชัดเจน (ทำไมต้องทำโครงการนี้)
3) Clarity
ความกระจ่างแจ้งชัดเจน
(ไม่คลุมเครือ)
4) Completeness ความสมบูรณ์ครบถ้วน
เนื้อความควรครบถ้วนเพียงพอ
5) Concise
ความกระชับ
ด้วยการใช้ถ้อยคำน้อย ไม่ฟุ้มเฟือย แต่ให้ความหมายชัดเจน
6) Consistency
ความสม่ำเสมอ
7) Concatenation
ความเชื่อมโยง
เนื้อหาต้องสอดคล้องกัน มีความเป็นเหตุเป็นผล
สำนักงานพัฒนาระบบราชการ (2562). คู่มือแนวทางการสมัครขอรับรางวัล United Nations Public Service Awards 2019. กรุงเทพมหานคร
Public Institutions and Digital Government Department of Economic and
Social Affairs (2018). Past UNPS Days. Retrieved August 11, 2019, from: https://publicadministration.un.org/en/unpsa
[1] ผศ.ดร. พร้อมภัค บึงบัว, การเขียนบทความวิชาการและการเขียนบทความการวิจัย , (สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, ม.ป.ป.)