ผลงานที่ได้รับรางวัล
United Nations
Public Service Awards ในปี พ.ศ. 2560
- 2562
ใน ปี พ.ศ. 2559
องค์การสหประชาชาติปรับรายละเอียดของรางวัลให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ
SDGs ดังนั้น
ผลงานที่ส่งสมัครเข้ารับรางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบันต้องมีความสอดคล้องกับ
SDGs โดยผลงานที่ได้รับรางวัลในปี พ.ศ. 2560
- 2562 จำนวน 30 ผลงาน
มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มากที่สุด 3 ลำดับ ได้แก่
อันดับ
1: เป้าหมายที่ 3
(สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย)
มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33 ของผลงานที่ได้รับรางวัลในปี พ.ศ. 2560 - 2562 (จำนวน
30 ผลงาน)
อันดับ
2: เป้าหมายที่ 16 (ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดรับชอบ
และครอบคลุม ในทุกระดับ) คิดเป็นร้อยละ 27
อันดับ
3: เป้าหมายที่ 5
(บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและให้อำนาจของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน) มากเป็นอันดับ
3 คิดเป็นร้อยละ 20
นอกจากนี้ยังมีผลงานที่สอดคล้องกับ
SDGs เป้าหมายอื่น ๆ อาทิ เป้าหมายที่ 5
(บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและให้อำนาจของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน) เป้าหมายที่
10 (ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ) เป้าหมายที่ 6
(สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคน
และมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน)
อย่างไรก็ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ไม่มีผลงานที่ได้รับรางวัลในระยะเวลา
3 ปีที่ผ่านมา จำนวน 7 เป้าหมาย ได้แก่
• เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่
• เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย
บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
• เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทีความทนทาน
ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
• เป้าหมายที่ 12
สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน
• เป้าหมายที่ 14
อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
• เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู
และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่
และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
• เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟู
สภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกส าหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนการเงิน
ทั้งนี้
หากมีการสมัครขอรับรางวัลใน 7 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่ไม่เคยมีผลงานได้รับรางวัลในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มโอกาสการได้รับรางวัล UNPSA ให้กับผลงานได้
แต่อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญที่หน่วยงานต้องนำมาพิจารณาควบคู่ไปกับความสอดคล้องของผลงานกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้วนั้น
คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน นั้นเอง