ตัวอย่างการตอบคำถามแบบฟอร์มการสมัคร (Nomination form) เพื่อขอรับรางวัล UNPSA ของประเทศที่ได้รับรางวัล UNPSA 2019: สาธารณรัฐเคนยา

แชร์หน้านี้

สาธารณรัฐเคนยา


หน่วยงา : Water Sector Trust Fund

ผลงาน : Up-scaling Basic Sanitation for Urban Poor (UBSUP)

สาขา : สาขาที่ 1 การให้บริการที่ครอบคลุมและเท่าเทียมโดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง (Delivering inclusive and equitable services to leave no one behind)

Question1. Please describe the objective of the initiative introduced (200 words maximum)

The overall objectives of UBSUP initiative are to: a) Provide sustainable access to sanitation for 400,000 residents. This is achieved through the different toilet options being offered, both wet and dry by December 2018. b) Reach 200,000 residents with safe access to water which has been achieved by December 2018. c) Ensure safe and sustainable emptying, transport & treatment of toilet sludge through the construction of the decentralized treatment facilities (DTFs) and SANIGOs for transport of the dry sludge. d) Establish a monitoring system for tracking access to safe water & basic sanitation facilities e) Enhance active participation in the provision of basic sanitation to the urban poor by other stakeholders given that sanitation is wide and WSTF cannot be able to handle all the sanitation issues on their own. f) Develop a sanitation up-scaling concept in line with the sector reforms. The programme should have a countrywide approach.

คำแปลโดยสังเขป  จุดประสงค์ของโครงการ Up-scaling Basic Sanitation for Urban Poor (UBSUB) ประกอบด้วย 1) การทำให้ประชาชนกว่า 400,000 คนเข้าถึงระบบสุขาภิบาล ซึ่งดำเนินการโดยการสร้างห้องสุขาภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 2) การทำให้ประชาชนจำนวน 200,00 ครัวเรือนเข้าถึงน้ำสะอาดภายในเดือน 
ธ.ค. 2561 3) การสร้างความมั่นใจในเรื่องการจัดเก็บ ขนส่ง และกำจัดของเสียจากห้องน้ำ ผ่านทางการจัดตั้งระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล (DTFs) และ SANIGOs สำหรับขนถ่ายตะกอนสิ่งปฏิกูล 4) การสร้างระบบการตรวจสอบติดตามการเข้าถึงน้ำสะอาด และสุขาภิบาลขั้นพื้นฐาน 5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดหาสุขอนามัยขั้นพื้นฐานให้กับผู้
มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ในเมือง โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เพื่อให้ครอบคลุมการสุขาภิบาลทั้งระบบ 6) การพัฒนาแนวทางการปรับปรุงสุขอนามัยไปพร้อม ๆ กับการปฏิรูปภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทวิเคราะห์ การตอบคำถามในข้อนี้ ระบุจุดประสงค์ของการดำเนินโครงการ ความสำคัญที่นำมาสู่กิจกรรมที่ทำ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มของประชาชนอย่างชัดเจน (ด้วยการะบุตัวเลขกลุ่มเป้าหมาย) รวมทั้งการสร้างระบบการตรวจสอบการติดตามการเข้าถึงน้ำสะอาด และระบบสุขาภิบาลที่ดี

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 1 เสนอแนวคิด /นโยบาย /การปฏิบัติ  โครงสร้างเชิงนวัตกรรม และข้อที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินการ

 



Question 2 Please explain how the initiative is linked to the category and criteria selected (100 words maximum)

UBSUP is a nationwide intervention to improve access to household sanitation in poor urban areas in Kenya. This initiative targets the poorest and the most vulnerable for whom sanitation is not a priority. The Water Services Providers (WSPs) are responsible for urban water and sanitation service provision, and therefore, are the main partners of the Water Sector Trust Fund to implement UBSUP. The WSPs are provided with technical assistance, capacity building and infrastructures to develop sanitation services in marginalised and underserved areas.

คำแปลโดยสังเขป  โครงการ UBSUP ช่วยพัฒนาการเข้าถึงการสุขอนามัยในครัวเรือนในพื้นที่ยากจนในเมืองใหญ่ทั่วประเทศเคนยา แนวคิดนี้มุ่งเป้าไปที่คนยากจนซึ่งไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องสุขอนามัย                         ผู้ให้บริการน้ำ (WSPs) มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาน้ำและสุขาภิบาลในเมือง ดังนั้นจึงเป็นพันธมิตรหลักของ กองทุน Water Sector Trust Fund ในการเริ่มดำเนินการ UBSUP ซึ่ง WSPs ได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิค การพัฒนาศักยภาพ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับพัฒนาบริการด้านสุขอนามัยในพื้นที่ชายขอบ

บทวิเคราะห์  การตอบคำถามในข้อนี้ แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องของสาขา 1 การให้บริการที่ครอบคลุมและเท่าเทียมโดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง ด้วยการระบุกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ยากจน ไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขาอนามัยที่ดี และ

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 1 เสนอแนวคิด /นโยบาย /การปฏิบัติ โครงสร?างเชิงนวัตกรรม ข้อที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินการ และข้อที่ 3 เพิ่มโอกาสที่เท่าเทียมและการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม



 

Question 3Please describe in what ways the initiative is contributing to the implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development and the realization of the SDGs. Specify which SDG(s) it is relevant to. (100 words maximum)

The initiative has contributed to both Vision 2030 on improved water and sanitation goal is to ensure water and sanitation are available and accessible for all and SGD Goal 6 of ensuring availability and sustainable management of water and sanitation for all. This is by 283,455 people being with water and 236,090 being provided with sustainable sanitation facilities. The Decentralized Treatment Facilities (DTFs) have been adopted by various counties as the appropriate technologies to serve small towns.

คำแปลโดยสังเขป แนวคิดนี้ได้ถูกบรรจุใน Vision 2030 ในประเด็นการพัฒนาเรื่องน้ำและสุขาภิบาล    ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างหลักประกันให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงน้ำและสุขาภิบาลที่ดี และเป้าหมายดังกล่าวยังถูกบรรจุในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SGD) เป้าหมายที่ 6 เรื่องการจัดให้มีน้ำและสุขาภิบาลอย่างเพียงพอและยั่งยืนสำหรับทุกคน โดยมีประชาชนจำนวน 283,455 คนเข้าถึงน้ำและประชาชน 236,090 คนเข้าถึงแหล่งสุขาภิบาลที่ได้มาตรฐาน โดยเมืองต่าง ๆ ได้ประยุกต์ใช้ระบบบำบัดในระดับท้องถิ่น (DTFs) เพื่อรองรับสุขอนามัยในเมือง

บทวิเคราะห์  การตอบคำถามในข้อนี้ ระบุความสอดคล้องของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 6  เรื่อง   การจัดให้มีน้ำและสุขาภิบาลอย่างเพียงพอและยั่งยืนสำหรับทุกคน และระบุจำนวนประชาชนที่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดและการจัดการสุขาภิบาลที่ได้มาตรฐาน ซึ่งสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินการ และข้อที่ 3 เพิ่มโอกาสที่เท่าเที่ยมและการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม

 



Question 4The initiative must have positive impact on a group or groups of the population, especially the vulnerable (i.e. children, women, older persons, people with disabilities, etc.) within the context of your country or region. Please explain how the initiative has addressed a significant shortfall in governance, public administration or public service within the context of a given country or region. (200 words maximum)

Kenya has a population of 46 million people out of which 25% live in urban areas with an urban growth rate of 4% per year. Around one third of the urban population lives below the poverty line. Most of them are residents of the approx. 2,000 urban low income areas or slums country wide. Women and children are particularly affected by inadequate sanitation in urban low income areas. UBSUP targets this segment of the population and therefore has a significant impact on vulnerable population with regards to improved hygiene and living conditions in general. The Constitution of Kenya 2010 lays down the framework for development of the sanitation sector which guarantee the right of every person to “reasonable standards of sanitation,” and “a clean and healthy environment”. In practice, however, the investment in network infrastructure is failing to keep up with the growing demand in urban areas, generating a large sanitation infrastructure and services deficit. UBSUP has identified these gaps and acted upon them to ensure that the entire sanitation service chain is covered from emptying of toilets to treatment of faecal sludge with possibility of sludge and effluent reuse.

คำแปลโดยสังเขป  สาธารณรัฐเคนยามีประชากรประมาณ 46 ล้านคน ซึ่งประชากรราว 25% อาศัยอยู่ในเมืองที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของความเป็นเมืองโตขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี ทั้งนี้ประชากรของเคนยาราวหนึ่งในสามเป็นคนยากจน โดยอาศัยอยู่ในเมืองในพื้นที่ที่มีรายได้น้อยและแหล่งชุมชนแออัดราว 2000 แห่งทั่วประเทศ ดังนั้น สตรีและเด็กจึงเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสม UBSUB กำหนดกลุ่มเป้าหมายสตรีและเด็กเป็นหลักเพื่อปรับปรุงสุขอนามัยและสภาพความเป็นอยู่โดยทั่วไป รัฐธรรมนูญปี 2010 ของ Kenya กำหนดกรอบการพัฒนาด้านสุขอนามัยเพื่อสร้างหลักประกันให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึง “สุขอนามัยที่ดี” และ “สภาพแวดล้อมที่สะอาด และถูกสุขลักษณะ” อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติพบว่า การพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ และไม่ตอบรับต่อการขยายตัวของเมืองได้ UBSUP เล็งเห็นถึงปัญหานีจึงเร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาสุขอนามัยอย่างครบวงจรทั้งการจัดเก็บของเสียจากห้องน้ำ รวมถึงการบำบัดและนำของเสียบางส่วนกลับมาใช้ประโยชน์

บทวิเคราะห์  การตอบคำถามในข้อนี้ มีความชัดเจนในการระบุถึงปัญหา ความเป็นมา ความสำคัญที่ก่อให้เกิดโครงการนี้ ด้วยการนำสถานการณ์หรือบริบทในประเทศเพื่อแสดงให้ถึงความสำคัญ และความจำเป็น ของกิจกรรมที่ทำเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสุขอนามัยขั้นพื้นฐานได้

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 1 เสนอแนวคิด /นโยบาย /การปฏิบัติ โครงสร?างเชิงนวัตกรรม ข้อที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินการ ข้อที่ 3 เพิ่มโอกาสที่เท่าเทียมและการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และข้อที่ 4 พัฒนาและสนับสนุนการให้บริการแบบหุ้นส่วน

 



Question 5 a. Please explain in which way the initiative is innovative in the context of your country or region (100 words maximum)

First, the scaling-up concept is the process of reaching sustainable access to water and sanitation services at broad scale through easily replicable standard projects. Secondly, UBSUP supports the implementation of a new type of treatment plant called DTF (Decentralized Treatment Facility) to treat the faecal sludge coming from latrines and septic tanks at a decentralized level. The DTF is a modular facility with a standard design that can treat either 23m3 or 50m3 per day. It comprises of six modules which provide biological anaerobic treatment and run by gravity (no energy or chemical input).

คำแปลโดยสังเขป  ประการแรก กรอบแนวคิดของโครงการ Scaling up คือ การเพิ่มการเข้าถึงน้ำสะอาดและการบริการระบบสุขาภิบาลสุขอนามัยในวงกว้างผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ ประการที่สอง UBSUP ให้การสนับสนุนการติดตั้งระบบบำบัดใหม่ที่เรียกว่า DTF ซึ่งเป็นระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลและกากตะกอนแบบ และไม่ใช้สารเคมี (biological anaerobic treatment) แต่ใช้แรงโน้มถ่วงเป็นกลไกหลักในการทำงาน ซึ่งส่งผลให้สามารถบำบัดของเสียได้ 23 หรือ 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

บทวิเคราะห์ การตอบคำถามในข้อนี้ ระบุแนวคิดการยกระดับคุณภาพชีวิต และระบบสุขอนามัยที่ดีให้กับประชาชนที่ยากจน ด้วยการใช้ระบบการบำบัดน้ำเสียที่ไม่ใช้สารเคมี ซึ่งส่งผลให้สามารถบำบัดของเสียได้เพิ่มขึ้นจากเดิม

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 1 เสนอแนวคิด /นโยบาย /การปฏิบัติ โครงสร?างเชิงนวัตกรรม

b. Please describe if the innovation is original or if it is an adaptation from other contexts (100 words maximum)

UBSUP is an original concept that was developed in 2011 by the WSTF with the support of GIZ (German Development Cooperation) who both wanted to develop an innovative project in order to reach sustainable access to sanitation services at broad scale. While covering the entire sanitation service chain (from toilet to treatment), UBSUP incorporates a social marketing concept, technical concepts for infrastructure, emptying and transportation as well as business and financing models. The concept addresses trade-offs between demand-orientation and minimum service quality standards, cost efficiency and long-term serviceability of the infrastructure, to eventually achieve lasting economic, social and environmental impacts.

คำแปลโดยสังเขป  กองทุน Water Sector Trust Fund (WSTF) พัฒนากรอบแนวคิด UBSUP ขึ้นใน
ปี ค.. 2011 โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ (German Development Cooperation เป็นองค์กรของรัฐบาลเยอรมันที่ดำเนินงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน) ซึ่งทั้งสององค์กรพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเข้าถึงสุขอนามัยอย่างยั่งยืนในวงกว้าง UBSUP บูรณาการ แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม เทคนิคสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งรวมถึงรูปแบบธุรกิจและการเงินเพื่อครอบคลุมห่วงโซ่การบริการด้านสุขอนามัยทั้งหมด (ตั้งแต่ห้องน้ำไปจนถึงการบำบัด) ได้รวมเอาไว้ด้วย แนวคิดนี้ให้ความสำคัญกับความต้องการและมาตรฐานคุณภาพบริการ ประสิทธิภาพด้านต้นทุนและความสามารถในการบริการระยะยาวของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

บทวิเคราะห์  การตอบคำถามในข้อนี้ ระบุให้เห็นถึงวิธี และการเริ่มต้นของการดำเนินโครงการ และองค์กรที่สนับสนุนกิจกรรมของโครงการ ซึ่งให้ความสำคัญกับมาตรฐาน และการบริการที่มุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 1 เสนอแนวคิด /นโยบาย /การปฏิบัติ โครงสร?างเชิงนวัตกรรม ข้อที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินการ และข้อที่ 3 เพิ่มโอกาสที่เท่าเทียมและการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม




Question 6 Has the initiative been transferred and adapted to in other contexts (e.g. other cities, countries or regions) to your organization’s knowledge? If yes, please explain (100 words maximum)

Following the success of the DTF initiative, various county governments in Kenya have rolled up the initiative including Makueni, Machakos, Nairobi, Nyandarua and Muranga where DTFs are being implemented in various parts of the country. Moreover, WSTF has done a study in 23 small towns of Kenya with support by BMGF and AfDB under the Kenya Towns Sustainable Water Supply and Sanitation Programme (KTWSSP) for consideration of financing. UBSUP concept through GIZ Community of Practice (CoP) on Scaling up Access has been replicated in Burkina Faso, Tanzania, Mali, South Sudan, Zambia and Uganda, with the WSTF regularly hosting benchmarking missions.

คำแปลโดยสังเขป จากความสำเร็จของระบบ DTF เมืองหลายแห่งในสาธารณรัฐเคนยาได้นำแนวคิดนี้มาใช้ ได้แก่ Makueni, Machakos, Nairobi, Nyandarua และ Muranga โดยมีการติดตั้ง DTF ในหลายๆพื้นที่ของประเทศ นอกจากนั้น WSTF ได้ดำเนินการศึกษาในเมืองขนาดเล็กอีก 23 เมืองโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก BMGF and AfDB ทั้งนี้ WSTF ได้มีการติดตามประเมินผลการขยายแนวคิด UBSUP ผ่าน GIZ Community of Practice (CoP) ซึ่งถูกนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศต่างๆ เช่น เบอร์กินาฟาโซ แทนซาเนีย มาลี ซูดานใต้ แซมเบีย และอูกันดา

บทวิเคราะห์ การตอบคำถามในข้อนี้ ระบุถึงการขยายผลของโครงการที่ชัดเจน ด้วยการระบุถึงเมืองอื่น ๆ ในเคนยาที่นำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ และประเทศอื่น ๆ ที่นำไปประยุกต์ใช้เช่นกัน

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 1 เสนอแนวคิด /นโยบาย /การปฏิบัติ โครงสร้างเชิงนวัตกรรม

 



Question 7a. What resources (i.e. financial, human or others) were used to implement the initiative? (100 words maximum)

The total investment cost for the UBSUP initiative is 18.4 million Euros from the German Federal Ministry for Economic Cooperation and Development (BMZ), the Bill and Melinda Gates Foundation and the Government of Kenya. The initiative has proven to be very cost efficient with a per-capital cost of less than US$ 50, including the construction of 14,421 constructed toilets and Ten (10) decentralized sludge treatment facilities as of Nov 2018. The Water Sector Trust Fund has allocated a team of technical, social and financing experts to implement and monitor the activities on the ground.

คำแปลโดยสังเขป  ค่าใช้จ่ายในการลงทุนของโครงการ UBSUP มีมูลค่าประมาณ 18.4 ล้านยูโร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (German Federal Ministry for Economic Cooperation and Development, BMZ) มูลนิธิบิล เกตส์ และเมลินดา และรัฐบาลสาธารณรัฐเคนยา จากการดำเนินงาน พบว่า โครงการดังกล่าวมีประสิทธิผลและคุ้มทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้งบประมาณในการดำเนินงานในแต่ละเมืองเฉลี่ยน้อยกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างห้องน้ำ 14,421 แห่งและระบบบำบัด 10 แห่ง (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2018) ทั้งนี้ WSTF ได้ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค สังคม และการเงินเพื่อติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

บทวิเคราะห์ การตอบคำถามในข้อนี้ มีความชัดเจนในการระบุทรัพยากรด้านเงินทุน  และแหล่งเงินทุน และสิ่งสำคัญ คือ การระบุถึงความสำเร็จของโครงการ โดยการประเมินจากความคุ้มทุน และจำนวนห้องน้ำที่สร้างขึ้น รวมทั้งระบบบำบัด

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 1 เสนอแนวคิด /นโยบาย /การปฏิบัติ โครงสร?างเชิงนวัตกรรม ข้อที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินการ และข้อที่ 3 เพิ่มโอกาสที่เท่าเทียมและการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม

b. Please describe whether and how the initiative is sustainable (covering the social, economic and environmental aspects) (200 words maximum)

UBSUP revolves around a solid business model to achieve long-term viability. Service delivery is driven by the commercial incentive provided by the UBSUP approach. Business opportunities are created in terms of faecal sludge collection, transport and treatment services, but also sale of by-product (fertilizer and soil conditioner) and construction of sanitation infrastructures. Decentralized faecal sludge treatment facilities offer a competitive option and alternative to conventional centralized wastewater treatment plants. Moreover, Water Sector Trust Fund encourages the involvement of the private sector in the project as it has proven to be an effective partner in delivering effective and flexible collection and transport services. The UBSUP initiative is meant to operate beyond project horizons as it is anchored in the sector institutions.

The Water Act 2016 gives the Water Sector Trust Fund the legal mandate to finance the development of water and sanitation services in marginalised and underserved areas through the Water Services Providers. In terms of accountability and transparency, rigorous monitoring and evaluation enables WSTF to report on actual numbers of beneficiaries reached with the funding. In addition, WSTF reports to the public on an annual basis and WSTF funded investments can be tracked down on the MajiData website.

คำแปลโดยสังเขป UBSUP ดำเนินการตามโมเดลธุรกิจเพื่อให้บรรลุผลในระยะยาวโดยขับเคลื่อนการบริการด้วยแรงจูงใจทางการค้า การจัดเก็บของเสีย การขนส่ง การบำบัด การใช้ผลพลอยได้จากของเสีย (ปุ๋ยและดินปรับสภาพ) ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ และการก่อสร้างโครงการสุขอนามัย นอกจากนี้ WSTF กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือของภาคเอกชนในการพัฒนาระบบการจัดเก็บของเสียและการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น พระราชบัญญัติน้ำ 2016 ได้มีข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบริการด้านน้ำและการสุขอนามัยในพื้นที่ชายขอบ ทั้งนี้ การตรวจสอบและประเมินผลอย่างเข้มงวดทำให้ WSTF สามารถรายงานจำนวนผู้รับผลประโยชน์จากโครงการ รวมถึงได้มีการรายงานผลต่อสาธารณะเป็นประจำทุกปี และยังสามารถตรวจสอบข้อมูลผ่านเวปไซต์ MajiData ได้

บทวิเคราะห์  การตอบคําถามในข้อนี้ มีความชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่าความยั่งยืนของโครงการคือ โมเดลการขับเคลื่อนการดำเนินการ และการได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน และองค์กรสากล รวมทั้งข้อบังคับทางกฎหมายที่จะสนับสนุนการพัฒนาการบริการด้านสุขาภิบาลให้กับประชาชนที่ด้อยโอกาส นอกจากนี้ มีการประเมินผลและตรวจสอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านน้ำโดยตรง (WSTF) และการตรวจสอบผ่านเว็บไซด์

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 1 เสนอแนวคิด /นโยบาย /การปฏิบัติ โครงสร้างเชิงนวัตกรรมข้อที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินการ ข้อที่ 3 เพิ่มโอกาสที่เท่าเทียมและการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และข้อ 5 สร้างความเชื่อมั่นเรื่องความ โปร่งใสในการให้บริการสาธารณะ



Question 8a. Has the initiative been formally evaluated either through internal or external evaluation?, Yes (ใช่)

The UBSUP initiative was evaluated in 2016 by the GIZ Monitoring and Evaluation Unit who articulated its progress evaluation report around the following themes: Relevance (are they doing the right thing), Effectiveness (will they achieve the project’s objective), Efficiency (are the objectives being achieved cost-effectively), and Sustainability (are the positive results durable). In 2017 and 2018 the Bill and Melinda Gates Foundation contracted Innovations for Poverty Action (research and policy non-profit) to conduct an outcome verification exercise meant to generate a complete database of the UBSUP toilets to be used for survey sampling in 15 regions.

 คำแปลโดยสังเขป แนวคิดของ UBSUP ได้รับการประเมินในปี 2016 โดยหน่วยติดตามและประเมินผลขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ซึ่งได้รายงานการประเมินความคืบหน้าในประเด็นต่อไปนี้ : ความสอดคล้องกัน ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และความยั่งยืน (ก่อให้เกิดผลเชิงบวกในระยะยาว) ในปี 2017 และ 2018 มูลนิธิบิล เกตส์ และเมลินดา เกตส์ ได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความยากจนด้วยการวิจัยและการดำเนินนโยบายขององค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร เพื่อตรวจสอบและผลการดำเนินงานและจัดเก็บฐานข้อมูลห้องน้ำในโครงการ UBSUP เพื่อใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างใน  15 ภูมิภาค

b. Please describe the indicators that were used (100 words maximum)

           a. The project’s objectives and strategic approach make a significant contribution to resolving the core problems facing the largely poor target groups in poor urban areas, to ensuring access to adequate sanitation. b. Basic sanitary facilities are used by the population in a sustainable and equitable manner in the urban areas supported by the project. c. Mechanisms for broad impact are intrinsic in the project. Central actors in the water sector are incorporated, which guarantees upscaling approaches. d. The alignment of sanitation services with the needs of women living in poor districts supported by the project has improved by 30%.

คำแปลโดยสังเขป

a. วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของโครงการมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาหลักที่ส่งผลต่อกลุ่มคนยากจนที่อาศัยในเขตยากจนของเมือง เพื่อสร้างหลักประกันในการเข้าถึงสุขาภิบาลที่ดี

b. ประชาชนใช้สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัยขั้นพื้นฐานอย่างยั่งยืน และเป็นธรรม

c. กลไกการดำเนินงานที่ส่งผลในวงกว้างนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในโครงการ โดยมีการบูรณาการตัวแสดงหลักในการจัดการน้ำเข้าไปด้วย

d. การพัฒนาบริการด้านสุขอนามัยที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงในเขตยากจนได้รับการพัฒนาขึ้นประมาณ 30%

บทวิเคราะห์  การตอบคำถามในข้อนี้ a และ b ระบุถึงองค์กรที่ประเมินผล และตัวชี้วัดที่ใช้
ในการประเมินผลที่ชัดเจน โดยโครงการได้รับการประเมินผลจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยประเด็นในการประเมินผลนั้น มีเรื่องความยั่งยืน (เป็นประเด็นที่ UN ให้ความสำคัญในขณะนี้
รวมถึงการคำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจกรรม และการขยายผลการดำเนินงานเพื่อเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ยากจน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และผู้หญิ่งในเขตยากจน

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินการ ข้อที่ 3 เพิ่มโอกาสที่เท่าเทียมและการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ข้อ 4 พัฒนาและสนับสนุนการให้บริการแบบหุ้นส่วนและข้อ 5 สร้างความเชื่อมั่นเรื่องความโปร่งใสในการให้บริการสาธารณะ

c. Please describe the outcome of the evaluation (100 words maximum)

The UBSUP initiative was evaluated rated very successful by the GIZ Monitoring and Evaluation Unit (with a total of 15 out of 16 points). The Outcome Verification Report from IPA reported that; of those visited, 91.7% of pilot and 94.2% of upscaling toilets were still in use at the time of observation and all were more than 12 months old, the average number of users per toilet was approximately 8 users per toilet for the pilot regions and 7 users per toilet in the upscaling regions. Of the 1040 upscaling toilets which were eligible to be emptied, landlords reported only 84 (8.1%) had ever been filled to capacity.

คำแปลโดยสังเขป  หน่วยติดตามและประเมินผลขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประเมินผลว่าแนวคิด UBSUP ประสบความสำเร็จอย่างมาก (ได้รับคะแนน 15 จาก 16 คะแนน) โดยรายงานผลการการตรวจสอบการดำเนินงานจาก IPA รายงานว่า จากการไปสำรวจโครงการนั้น มีห้องน้ำ 91.7% ในโครงการนำร่องและห้องน้ำจำนวน 94.2% ของโครงการส่วนขยายที่ยังมีการใช้งานอยู่ (ในขณะการสำรวจ) โดยห้องน้ำทั้งหมดมีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 12 เดือน โดยจำนวนผู้ใช้ห้องน้ำเฉลี่ยในพื้นที่นำร่องคือ 8 คนต่อห้องน้ำ 1 ห้องและจำนวนผู้ใช้ห้องน้ำเฉลี่ยในโครงการในพื้นที่ส่วนขยายอยู่ที่ 7 คนต่อห้องน้ำ 1 ห้อง ทั้งนี้ ห้องน้ำทั้งหมด 1,040 ห้องของพื้นที่ในส่วนขยายยังสามารถใช้การได้ และมีรายงานว่าเพียง 84 ห้อง (8.1%) ที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว

บทวิเคราะห์  การตอบคำถามในข้อนี้ ระบุถึงผลลัพธ์ที่ได้อย่างชัดเจน และระบุคะแนนที่ได้จากการประเมินผล (ได้รับคะแนน 15 จาก 16 คะแนน) แสดงให้เห็นว่าโครงการที่จัดทำนั้นประสบความสำเร็จอย่างมาก เมื่อพิจารณาจากคะแนนที่ได้ มีการระบุผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรม คือ แสดงจำนวนเฉลี่ยผู้ใช้ห้องน้ำต่อห้อง `จำนวนห้องน้ำที่ใช้การได้ และที่ใช้การไม่ได้

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินการ ข้อที่ 3 เพิ่มโอกาสที่เท่าเทียมและการเข้าถึงการบริการ
ที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ข้อ 4 พัฒนาและสนับสนุนการให้บริการแบบหุ้นส่วนและข้อ 5 สร้างความเชื่อมั่นเรื่องความโปร่งใสในการให้บริการสาธารณะ




Question 9 The 2030 Agenda for Sustainable Development puts emphasis on collaboration, engagement, coordination, partnerships, and inclusion. Please describe what and how stakeholders were engaged in designing, implementing and evaluating the initiative. Please also highlight their roles and contributions (200 words maximum)

The implementation approach is to be integrated into the water sector policies, institutions and procedures through a multi-level engagement which builds upon the strengths and weaknesses of all sector stakeholders. In order to achieve successful upscale, it was critical for UBSUP to engage various actors from the preparatory stage to the full operationalisation. The implementation of the UBSUP activities on the ground are delegated to the Water Services Providers (WSPs). The WSPs form a project task team composed of leaders of different affiliations (political, religious, representation of marginalised groups, and any other dominant influencer in the community) to disseminate information about the initiative, create ownership at the local level and create a multi-stakeholder baseline for the project’s implementation. That way, once the project is being implemented, the WSPs receive direct support from the relevant actors: Public Health Officer for law enforcement, County government for land, chiefs and religious leader for sensitization and promotion. At a national level, the Water Sector Trust Fund engages on a regular basis the Water Services Regulator (WASREB) regarding the regulation of on-site sanitation and the National Environmental Authority (NEMA) regarding the issuance of the effluent discharge permit for the DTF.

คำแปลโดยสังเขป  แนวทางการดำเนินงานคือการบูรณาการนโยบายน้ำ โดยต้องมีส่วนร่วมกับหลายภาคส่วนตั้งแต่ขั้นการเตรียมการจนถึงการดำเนินงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีผู้ให้บริการน้ำ (WSPs) เป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมของ UBSUP ทั้งนี้ WSPs จัดตั้งทีมงานซึ่งประกอบด้วยผู้นำของหน่วยงานต่างๆ (การเมือง ศาสนา ตัวแทนของกลุ่มคนชายขอบ และผู้นำในชุมชน) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด ยกระดับความเป็นเจ้าของในระดับท้องถิ่น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ ในช่วงนั้น WSPs ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลท้องถิ่น เพื่อดำเนินการด้านที่ดิน ผู้นำทางศาสนา สำหรับการส่งเสริมโครงการ  สำหรับการดำเนินงานในระดับประเทศนั้น กองทุนน้ำ (The Water Sector Trust) ควบคุมการบริการน้ำอย่างต่อเนื่อง (WASREB) โดยควบคุมกฎระเบียบสุขาภิบาล โดยมีหน่วยออกใบอนุญาตด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (National Environmental Authority - NEMA) ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตรับรองการปล่อยน้ำทิ้งสำหรับ ศูนย์บำบัดสิ่งปฏิกูล (DTF)

บทวิเคราะห์ การตอบคำถามในข้อนี้ มีความชัดเจนในการระบุแนวคิดริเริ่ม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากตัวแทนทั้งด้านการเมือง ศาสนา และผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินการ ข้อที่ 3 เพิ่มโอกาสที่เท่าเทียมและการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ข้อ 4 พัฒนาและสนับสนุนการให้บริการแบบหุ้นส่วน ข้อ 5 สร้างความเชื่อมั่นเรื่องความโปร่งใสในการให้บริการสาธารณะ และข้อ 6 สร้างความเชื่อมั่นเรื่องการรับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะ

 



Question 10 Please describe the key lessons learned, and any view you have on how to further improve the initiative (100 words maximum)

a. National up-scaling works best within sector institutions, which provide an ideal ground for proven concepts to be simultaneously replicated in different areas. UBSUP uses the financing mechanisms of WSTF, complies with policies and regulations defined at a national level and implements through the WSPs at a county level. b. Tried and tested concepts influence policy. UBSUP made a significant contribution to the Kenya’s Environmental Sanitation and Hygiene Policy (KESH). c. A range of technology options in terms of toilets, emptying, treatment and reuse options, is needed to cater for different socio-cultural and economic contexts in different area of implementation.

คำแปลโดยสังเขป 

a. การขยายผลการดำเนินโครงการในระดับชาตินั้น ส่งผลให้เกิดการดำเนินโครงการลักษณะเดียวกันในหลายพื้นที่ ซึ่ง UBSUP ใช้กลไกทางการเงินของ WSTF ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและกฎหมายของชาติ และดำเนินการผ่าน WSPs ในระดับเมืองต่างๆ

b. การทดลองและทดสอบแนวคิดส่งผลกระทบต่อนโยบาย UBSUP ส่งผลต่อนโยบายด้านสุขอนามัยและคุณภาพสิ่งแวดล้อมของเคนยา

c. ทางเลือกทางเทคโนโลยีประกอบด้วยห้องน้ำ การบำบัดน้ำเสีย และการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่เป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินการกับบริบทสังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ

บทวิเคราะห์ การตอบคําถามในข้อนี้มี ระบุสิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการนี้คือ แนวทางการขยายผลความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินการ และเทคโนโลยีที่ใช้

ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 1) มีความสอดคล้องในข้อที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดําเนินการ ข้อที่ 3 เพิ่มโอกาสที่เท่าเทียมและการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ข้อ 5 สร้างความเชื่อมั่นเรื่องความโปร่งใสในการให้บริการสาธารณะ และข้อ 6 สร้างความเชื่อมั่นเรื่องการรับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะ


ที่มา: Public Institutions and Digital Government Department of Economic and Social Affairs (2019). Up-scaling Basic Sanitation for Urban Poor. Retrieved September  112019, from:https://publicadministration.un.org/unpsa/database/Home/Winners/2019-Winners/Sanitation-for-Urban-Poor