สาธารณรัฐเกาหลี
หน่วยงาน: Seoul Metropolitan Government (SMG)
ผลงาน: Public Sanitary Pads Support Policy for Menstrual Health Equity
สาขารางวัล: สาขาที่ 5 การส?งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในการให้บริการสาธารณะ (Promoting gender responsive public service to achieve the SDGs)
Nearly all women of childbearing age menstruate, but the experience
varies widely based on economic circumstances and degree of access to
health-related resources. Some are able to purchase sanitary pads of the proper
size based on the amount of blood flow, but low-income individuals are often
forced to use tissue, towels and even shoe inserts as sanitary pads. Even women
who have the financial means to purchase sanitary pads frequently face problems
with menstruation. For instance, according to a survey conducted by SMG, 84.9% of respondents stated that earlier-than-expected periods
left them facing the sudden start of a menstrual cycle without a sanitary pad.
SMG aimed to address this issue through three levels: 1) provide
sanitary pads directly to the most socially vulnerable citizens; 2)
increase accessibility to sanitary pads, improve hygiene, and overcome
restrictions posed by its absence through making sanitary pads available at all
public facilities; and 3) improve reproductive health by
providing accurate information on menstruation. This project aims to secure
equal and safe access to menstruation rights for all citizens.
คำแปลโดยสังเขป
ผู้หญิงแทบทุกคนในวัยเจริญพันธ์มีประจำเดือน
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เข้าถึงผลิตภัณฑ์อนามัยสตรี หรือ ผ้าอนามัยได้
เนื่องจากความแตกต่างทางเศรษฐกิจ และความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรด้านสาธารณสุข
บางคนสามารถซื้อผ้าอนามัยได้ตามความเหมาะสม
แต่สำหรับผู้มีรายได้น้อยนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ทิชชู่ ผ้าเช็ดตัว
แม้กระทั่งแผ่นรองเท้าทดแทนการใช้ผ้าอนามัย ตัวอย่างจากการสำรวจของ รัฐบาลกรุงโซล
(Seoul
Metropolitan Government: SMG) พบว่าผู้หญิงบางคนที่สามารถซื้อผลิตภัณฑ์อนามัยสตรีได้กลับมีปัญหาเรื่องประจำเดือน
กล่าวคือ ร้อยละ 84.9 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าหากประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติ
ทำให้มีปัญหาไม่มีผ้าอนามัยขณะมีประจำเดือน ดังนั้น SMG จึงต้องการแก้ไขปัญหาข้างต้นในระดับต่าง
ๆ ดังนี้ ระดับที่ 1 เตรียมผ้าอนามัยแก่ประชาชนในกลุ่มเปราะบาง ระดับที่ 2
เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์อนามัย ปรับปรุงระบบสุขอนามัย
และจัดเตรียมผ้าอนามัยในสถานทีสาธารณะทุกแห่ง และ ระดับที่ 3
ปรับปรุงด้านอนามัยการเจริญพันธ์โดยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประจำเดือน
โดยโครงการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสุขอนามัยในระหว่างมีประจำเดือนอย่างเท่าเทียม
บทวิเคราะห์
การตอบคำถามได้กล่าวถึงปัญหาและความเป็นมาของปัญหา
ความสำคัญที่นำมาสู่การดำเนินโครงการนี้ ด้วยวิธีการดึงสถานการณ์ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในบริบทของประเทศ
เพื่อให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นของการคิดริเริ่ม
กิจกรรมหรือโครงการด้วยการใช้ข้อมูลทางสถิติ
นอกจากนั้นได้ระบุเป้าหมายของการดำเนินการที่มีความชัดเจน
และส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประชากรส่วนมากได้
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) : มีความสอดคล้องในข้อที่ 1 เสนอแนวคิด
นโยบายการปฏิบัติ และโครงสร้างเชิงนวัตกรรม และในข้อที่ 6 ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในการให้บริการสาธารณะ
Question 2 Please explain how the initiative is
linked to the category and criteria selected (100 words
maximum)
SMG’s public sanitary pad support project aims to be gender conscious.
First, by providing sanitary pads in public facilities, it is creating a
gender-equal environment. Second, it is increasing general accessibility to
sanitary pads and reducing the extent of restrictions on everyday activity by
women. Third, the project took special care to conduct diverse feedback surveys
for each implementation stage. Many systemic measures were taken such as
establishing legal grounds, convening gender equality committee meeting and
evaluating new policies, etc. Fourth, women were included in the implementation
of the policy geared toward the needs of the recipients.
คำแปลโดยสังเขป
โครงการสนับสนุนผ้าอนามัยของ
SMG มีจุดประสงค์เพื่อสร้างการตระหนักเรื่องเพศประการแรก
1) การจัดเตรียมผ้าอนามัยในที่สาธารณะเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเสมอภาคทางเพศในสังคม
2) ประการที่สอง การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผ้าอนามัย และลดข้อจำกัดต่าง ๆ
ในการทำกิจกรรมของผู้หญิง 3) ประการที่สาม
โครงการดังกล่าวได้ทำการสำรวจความคิดเห็นในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน
และใช้กลไกต่างๆ เช่น กฎหมาย
การประชุมคณะกรรมการความเสมอภาคทางเพศ และการประเมินนโยบาย และ 4) การ
บูรณาการประเด็นเรื่องเพศในการขับเคลื่อนโยบาย
บทวิเคราะห์
การตอบคำถามในข้อนี้
แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องของสาขาที่สมัคร “สาขาการ
ส?งเสริมการตอบสนองความเสมอภาคทางเพศในการส?งมอบบริการสาธารณะ” ที่ชัดเจน ด้วยการระบุผลลัพธ์ และแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม
โดยการกล่าวถึงการดำเนินด้วยวิธีการต่าง ๆ ก่อนการดำเนินการ
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 2 จัดเตรียมการให้บริการที่มีคุณภาพแก่สตรี ข้อ 4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของกลุ่มสตรีในการตัดสินใจ และการรับบริการสาธารณะ ข้อ 5 ส่งเสริมการตอบสนองความต้องการของกลุ่มสตรี ข้อ 6 ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในการให้บริการสาธารณะ
Question 3Please describe in what ways the initiative is
contributing to the implementation of the 2030 Agenda for
Sustainable Development and the realization of the SDGs. Specify which SDG(s)
it is relevant to. (100 words maximum)
Obviously this project is related to five SDGs. It contributes to
“Gender equality”(5), “Good health and well-being for
people”(3), “Clean water and sanitation”(6),
“Reducing inequalities”(10), It offers increased
accessibility to sanitary pads to prevent women from being unable to attend
school or engage in economic activity. It is also sensitive to the socially
disadvantaged women in that it attempts to guarantee equal access to sanitary
pads for all women. In relation to “Sustainable cities and communities” (11), the project systemizes the problem
of sexual and reproductive rights, which is a major issue that all urban
communities must address.
คำแปลโดยสังเขป โครงการนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
(SDGs) จำนวน
5 เป้าหมาย ซึ่งก่อให้เกิด ความเท่าเทียมทางเพศ (เป้าหมายที่ 5)
การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (เป้าหมายที่ 3) การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
(เป้าหมายที่ 6) ลดความเหลื่อมล้ำ (เป้าหมายที่ 10)
การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์อนามัยสตรี หรือผ้าอนามัย
เพื่อให้ผู้หญิงสามารถไปโรงเรียนได้
หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้
และโครงการนี้สร้างหลักประกันว่าผู้ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิเข้าถึงผ้าอนามัยที่โครงการจัดเตรียมไว้
ซึ่งสอดคล้องกับ เป้าหมาย SDGs ที่ 11
“เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน” นอกจากนี้ โครงการยังมีระบบการจัดการปัญหาสิทธิทางเพศ
และสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของชุมชนเมือง
บทวิเคราะห์ การตอบคำถามในข้อนี้
มีความชัดเจนในการระบุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในประเด็นต่าง ๆ และขยายความประเด็นที่สำคัญของโครงการ
คือ การเข้าถึงผลิตภัณฑ์อนามัยสตรีอย่างเท่าเทียมของกลุ่มผู้หญิงทุกคน
และเน้นย้ำความสำคัญของปัญหาสิทธิทางเพศ และสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์
ที่ต้องแก้ไขในบริบทของสังคมเมือง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 2 จัดเตรียมการให้บริการที่มีคุณภาพแก่สตรี ข้อ 4 ส?งเสริมการมีส?วนร?วมของกลุ?มสตรีในการตัดสินใจ และการรับบริการสาธารณะ ข้อ 5 ส?งเสริมการตอบสนองความต้องการของกลุ่มสตรี ข้อ 6 ส่งเสริมความเท้าเทียมทางเพศในการให้บริการสาธารณะ
Question 4The initiative must have positive impact on a group or
groups of the population, especially the vulnerable (i.e. children, women, older persons,
people with disabilities, etc.) within the context of your country or region.
Please explain how the initiative has addressed a significant shortfall in
governance, public administration or public service within the context of a
given country or region. (200 words maximum)
First, it is addressing the issue of “sanitary pad poverty” ay public
level. SMG’s sanitary pad support project for low-income female teens, which
began in 2016 has since been expanded to a national
project. In 2017, a support system was created exclusively
for approximately 992 facilities used by
socially-disadvantaged individuals. Second, a master plan was designed in 2018 for the installation of emergency sanitary pad dispensers
in public locations to minimize inconvenience by not having a sanitary pad
available when needed. After trial operations in 11 public
locations (Woman Resources Development Center, libraries, etc.), diverse
institutions have been encouraged to participate through promotional videos,
project manual, and incentives. The budget for 2019 has
been allocated so that dispensers can be installed in 200
public locations, a number that will be increased with each passing year.
Third, SMG has increased the accessibility of medical care and information
through the Seoul Municipal Health Center for Teen Girls (SMHC),
has operated 250 “Girl Care”pharmacies, and has designed
an informational website and notebook on menstruation. Fourth, SMG is
implementing diverse projects to improve public perception of menstruation,
such as making reusable sanitary pads events and festivals participated by
corporate employees and celebrities.
คำแปลโดยสังเขป ประการแรก
การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัยในเชิงนโยบาย
โดยโครงการการสนับสนุนผ้าอนามัยให้กับผู้หญิงที่มีรายได้น้อย เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.
2559 ได้ขยายผลการดำเนินงานไปสู่โครงการระดับชาติ โดยในปี พ.ศ. 2560
มีแหล่งอำนวยความสะดวกในการจ่ายผ้าอนามัยจำนวน 992 แห่งให้กับผู้ด้อยโอกาส
ประการที่สอง การร่างแผนแม่บทในปี พ.ศ. 2561
เพื่อติดตั้งเครื่องจ่ายผ้าอนามัยฉุกเฉินในสถานที่สาธารณะจำนวน 11 แห่ง
เพื่อลดปัญหาการไม่มีผ้าอนามัยในช่วงมีประจำเดือน ทั้งนี้
หลายๆองค์กรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำวิดีโอ ประชาสัมพันธ์ คู่มือ
และให้สิทธิพิเศษ และได้จัดสรรงบประมาณสำหรับปี พ.ศ. 2562
เพื่อติดตั้งเครื่องจ่ายผ้าอนามัยจำนวน 200 แห่ง
และจะเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่องในอนาคต ประการที่สาม รัฐบาลกรุงโซล (SMG)
ยกระดับการเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์
และข้อมูลผ่านศูนย์สุขภาพวัยรุ่นระดับเทศบาล “Seoul
Municipal Health Center for Teen Girls (SMHC)” ซึ่งเปิดร้านขายยาสำหรับสตรีจำนวน
250 แห่ง นอกจากนี้ได้ออกแบบเว็บไซต์และสมุดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการมีประจำเดือน
ประการที่สี่ SMG
กำลังดำเนินโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของประจำเดือน
เช่น การจัดงานเกี่ยวกับผ้าอนามัยที่ใช้ซ้ำได้ (reusable
sanitary pads) โดยมีพนักงานบริษัทและผู้มีชื่อเสียงต่าง
ๆ เข้าร่วมงาน
บทวิเคราะห์
การตอบคำถามในข้อนี้
มีความชัดเจนของหน้าที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีความชัดเจนของผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้หญิงทั้งประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มของผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถจัดหาผ้าอนามัยด้วยตนเองได้
รวมทั้งกลุ่มของผู้หญิงที่ต้องการใช้ผ้าอนามัยในกรณีฉุกเฉิน
ทำให้เห็นถึงความเท่าเทียมกัน นอกจากนี้การตอบคำถามยังแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของกิจกรรม
ในลักษณะการเขียนเรียงลำดับเวลา พร้อมทั้งระบุผลลัพธ์ที่ได้โดยใช้ตัวเลขทางสถิติ
และชี้ให้เห็นถึงการขยายผลการติดตั้งเครื่องจ่ายผ้าอนามัยที่เพิ่มขึ้นในทุกปี
ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการใช้งานผ้าอนามัยด้วย
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 2 จัดเตรียมการให้บริการที่มีคุณภาพแก่สตรี ข้อ 4 ส้งเสริมการมีส้วนร้วมของกลุ้มสตรีในการตัดสินใจ และการรับบริการสาธารณะ ข้อ 5 ส้งเสริมการตอบสนองความต้องการของกลุ่มสตรี ข้อ 6 ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในการให้บริการสาธารณะ
Question 5 a. Please explain in which way the
initiative is innovative in the context of your country or region (100 words maximum)
Sanitary pads have traditionally been shunned from being mentioned and
have been regarded as personal items. What is innovative is that this project
has made menstruation a public policy agenda. It made a conceptual connection
between sanitary pads and an everyday human rights. Especially, the idea of
"emergency" sanitary pads placed in public facilities was an innovative
approach that gained broad consensus. SMG was able to persuade the public of
seriousness of the situation where sanitary pads are unavailable. Third, it is
a comprehensive policy on menstrual rights that goes beyond satisfying material
needs, providing medical services and improving social perception.
คำแปลโดยสังเขป ประชาชนมีค่านิยมว่าผ้าอนามัยเป็นของใช้ส่วนตัว
ในขณะที่โครงการดังกล่าวทำให้เรื่องประจำเดือนเป็นประเด็นสาธารณะ
ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างเรื่องของผ้าอนามัยและสิทธิมนุษยชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดการเตรียมผ้าอนามัย
ในกรณีฉุกเฉินไว้ในที่สาธารณะเพื่อบริการประชาชนเป็นแนวคิดที่ทุกฝ่ายเห็นด้วย
โดยรัฐบาลกรุงโซลสามารถโน้มน้าวให้ประชาชนเข้าใจถึงสถานการณ์ความต้องการใช้ผ้าอนามัยซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น
และประการที่สาม นโยบายดังกล่าวครอบคลุมถึงสิทธิการมีประจำเดือน
ซึ่งถือว่าเป็นการบริการทางการแพทย์และการปรับเปลี่ยนการรับรู้ทางสังคม
บทวิเคราะห์ การตอบคำถามในข้อนี้
ได้ระบุอย่างชัดเจนของนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ คือ
การทำให้เรื่องของการเข้าถึงผ้าอนามัยอย่างเท่าเทียมเป็นนโยบายสาธารณะได้
ด้วยการกล่าวเริ่มต้นถึงข้อจำกัดที่ว่าผ้าอนามัยเป็นเรื่องของของใช้ส่วนตัว
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขจัดข้อจำกัดดั้งเดิม ก่อนที่จะเกิดเป็นนวัตกรรมในการพัฒนา
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 1 เสนอแนวคิด / นโยบาย / การปฏิบัติ /
โครงสร?างเชิงนวัตกรรม ข้อที่ 2 จัดเตรียมการให้บริการที่มีคุณภาพแก่สตรี
ข้อ 4 ส?งเสริมการมีส?วนร?วมของกลุ?มสตรีในการตัดสินใจ
และการรับบริการสาธารณะ ข้อ 5 ส่งเสริมการตอบสนองความต้องการของกลุ่มสตรี
b. Please describe if the innovation is original or if it
is an adaptation from other contexts (100 words maximum)
When the sanitary pad problem among low-income female teens first became
an issue in 2016, SMG was the first city in Korea to
establish a support system. SMG was also the first to equip public facilities
with emergency sanitary pad dispensers. The agenda and implementation period of
this project are very similar to those of similar projects conducted in New
York (2016). However, New York only makes sanitary pads
available at public schools and certain welfare/incarceration facilities and
not at public facilities for citizens. Seoul is the only metropolis that
supplies sanitary pads to public facilities for emergency use.
คำแปลโดยสังเขป ปัญหาการเข้าถึงผ้าอนามัยของวัยรุ่นหญิงที่มีรายได้น้อยเกิดขึ้นในปี
พ.ศ. 2559 ซึ่ง รัฐบาลกรุงโซล (SMG) เป็นเมืองแรกที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
และยังเป็นหน่วยงานแรกที่จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ เช่น
เครื่องจ่ายผ้าอนามัยในกรณีฉุกเฉิน
ซึ่งการดำเนินงานของโครงการนี้มีความคล้ายคลึงกับโครงการในมหานครนิวยอร์ก
สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการในมหานครนิวยอร์กเป็นเพียงการบริการผ้าอนามัยให้กับโรงเรียนของรัฐ
สถานพินิจ แต่ยังไม่มีการบริการในที่สาธารณะ
ทำให้กรุงโซลเป็นเมืองเดียวที่มีการให้บริการผ้าอนามัยในที่สาธารณะเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
บทวิเคราะห์ การตอบคำถามในข้อนี้
ระบุถึงความเป้นมาของโครงการที่มีความชัดเจน เริ่มจากปัญหาในปี พ.ศ. 2559 ที่เป็นที่มาของแนวคิด และการระบุถึงต้นแบบที่ใช้จากนครนิวยอร์ก
แต่ได้ระบุความแตกต่างของโครงการ และความเป็นเอกลักษณ์ของโครงการที่ได้ระบุว่ากรุงโซลเป็นสถานที่แห่งเดียวที่มีบริการผ้าอนามัยเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินในพื้นที่สาธารณะ
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 1 เสนอแนวคิด / นโยบาย / การปฏิบัติ /
โครงสร้างเชิงนวัตกรรม ข้อที่ 2 จัดเตรียมการให้บริการที่มีคุณภาพแก่สตรี
Question 6 Has the initiative been transferred
and adapted to in other contexts (e.g. other cities, countries or regions) to
your organization’s knowledge? If yes, please explain (100
words maximum)
SMG actively appealed to the National Assembly and central government on
the importance of this project while supplying 9,200 low-income
teens with sanitary pads in 2016, reaching a total of 140,000 low-income female teens nationwide by Dec.2016.
The emergency sanitary pad model has been rapidly followed. For example,
the district of Dobong-gu recently installed a sanitary pad dispenser in one
subway station on a trial. Currently, 10 other local
governments (including Gwangmyeong City and the Gyeongsangnam-do Provincial
Assembly) are receiving advice from SMG on the project’s implementation as well
as consistent inquiries from foreign governments.
คำแปลโดยสังเขป SMG ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อสมัชชาแห่งชาติและรัฐบาลกลางเกี่ยวกับความสำคัญของโครงการนี้
รวมถึงได้มีการจัดเตรียมผ้าอนามัยให้กับวัยรุ่นผู้มีรายได้น้อยจำนวน 9,200 คน ในปี พ.ศ. 2559 และได้เพิ่มจำนวนเป็น 140,000
คน ภายในในเดือนธันวาคมในปีเดียวกัน ทั้งนี้ เมืองอื่น ๆ
ในเกาหลีได้นำต้นแบบการจัดเตรียมผ้าอนามัยในที่สาธารณะเพื่อบริการในกรณีฉุกเฉินมาใช้
เช่น ในเขตโทบง (Dobong-gu) ทดลองติดตั้งเครื่องจ่ายผ้าอนามัยในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหนึ่งสถานี
และในปัจจุบัน รัฐบาลท้องถิ่นอีก 10 แห่งในเกาหลี
ได้รับการสนับสนุนจาก SMG ในการดำเนินโครงการต่อไป
บทวิเคราะห์ การตอบคำถามในข้อนี้
มีความชัดเจนของการขยายผล โดยแสดงให้เห็นถึงจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น
และการที่เมืองอื่นนำมาเป็นต้นแบบในการปฏิบัติตาม
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 1 เสนอแนวคิด / นโยบาย / การปฏิบัติ /
โครงสร้างเชิงนวัตกรรม ข้อที่ 2 จัดเตรียมการให้บริการที่มีคุณภาพแก่สตรี
Question 7 a. What resources (i.e. financial,
human or others) were used to implement the initiative? (100
words maximum)
A budget was allocated for the project to pay for sanitary pads for
low-income female teens, to supply emergency sanitary pads, and to organized
campaigns raising awareness of women’s sexual health. The project employs not
only management personnel but also human resources from various sectors.
Administrators, social workers, doctors and corporate heads participated in the
policy decision-making process sharing their resources. A notable
public-private governance was established. Upon receiving USD 892,857
worth of support via related organizations and corporations, SMG was able to
fund a diverse range of programs (e.g.reusable sanitary pads, medical devices,
HPV (cervical cancer) vaccines, etc.).
คำแปลโดยสังเขป มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการสนับสนุนผ้าอนามัยแก่วัยรุ่นผู้มีรายได้น้อย
เพื่อจัดหาผ้าอนามัยเพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน
และการสร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพของสตรี
โครงการนี้ไม่เพียงแต่มีบุคลากรในระดับบริหารเท่านั้น แต่ยังมีบุคลากรด้านอื่น ๆ
ด้วย เช่น พนักงานธุรการ นักสังคมสงเคราะห์ แพทย์
และหัวหน้าองค์กรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน นอกจากนี้ SMG สามารถจัดหาเงินทุนสำหรับการดำเนินโครงการได้โดยการรับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน
จำนวน 892,857 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจัดหาผ้าอนามัยที่ใช้ซ้ำได้
อุปกรณ์การแพทย์ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
บทวิเคราะห์
การตอบคำถามในข้อนี้
ระบุทรัพยากรที่ใช้ในกิจกรรมอย่างครอบคลุมทั้งทางด้านการเงิน ด้านเทคนิค
และด้านทรัพยากรบุคคล
และแสดงให้เห็นว่าทรัพยากรข้างต้นมีปัจจัยในการเกื้อหนุนการดำเนินงานด้านใดบ้าง
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 1 เสนอแนวคิด / นโยบาย / การปฏิบัติ /
โครงสร้างเชิงนวัตกรรม
b. Please describe whether and how the initiative is
sustainable (covering the social, economic and environmental aspects) (200 words maximum)
SMG focused on establishing a social consensus in order to consistently
implement the project. It collected the opinions of citizens through online
discussion forums and helped citizens to gain a better understanding of the
difficulties related to menstruation, producing and distributing promotional
videos/manuals at various events. This social consensus is the biggest driving
force that makes this project sustainable. Moreover, SMG re-enacted laws to
establish a legal basis for the project’s sustainability. SMG also created a
project budget to guarantee that the project was funded regardless of external
conditions. SMG established a support system for the management of individual
and corporate donations of sanitary pads. It also founded the SMHC(Seoul
Municipal Health Center for teen girls) to promote women’s sexual and
reproductive health and procured a stable budget. Through the operation of
advisory bodies comprised of experts on women’s/civic groups (e.g. Gender
Equity Committee), assessment and monitoring committee on new projects, SMG is
ensuring that this policy is continued and sustained.
บทวิเคราะห์
การตอบคำถาม มีความชัดเชนที่แสดงให้เห็นว่าความยั่งยืนของโครงการคือ
ความเห็นพ้องกันของคนสังคม
การตระหนักรู้ของคนในสังคมที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้โครงการยั่งยืน
รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากร
และการเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าดำเนินการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน
Question 8 a. Has the initiative been formally evaluated either
through internal or external evaluation? Yes (ใช่)
Each year, SMG conducts an online/offline poll to learn citizen's choice
of the most outstanding policies of the city’s major policies. The sanitary
pads and sexual health support project for low-income female teens have
received excellent evaluation for two consecutive years (2016
and 2017). In 2016, the project
received the 18th Sustainable Development Award
hosted by the Local Sustainability Alliance of Korea (LSAK). The project was
nominated for Creative Seoul Action Award, a project-excellence contest among
SMG departments. It also won the budget outcome contest, which evaluates the
efficient use of outside resources.
คำแปลโดยสังเขป ในแต่ละปี SMG จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์
เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบาย
ซึ่งโครงการนี้ได้รับการประเมินในระดับยอดเยี่ยมเป็นเวลาสองปีติดต่อกัน (ปี พ.ศ.
2559-2560) โดยในปี พ.ศ. 2559 โครงการได้รับรางวัล การพัฒนาอย่างยั่งยืนครั้งที่
18 ( 18th Sustainable Development Award) จาก Local
Sustainability Alliance of Korea (LSAK) และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล
Creative Seoul Action Award เป็นการประกวดภายในของ SMG
นอกจากนี้ยังชนะการแข่งขันการจัดสรรงบประมาณ “Budget outcome
contest” เป็นประเมินการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
บทวิเคราะห์
การตอบคำถามในข้อนี้ ระบุถึงการประเมินผลจากประชาชน จากแบบสำราจความคิดเห็น
ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการที่ชัดเจน และแสดงผลลัพธ์ที่ชัดเจน
นอกจากนี้ได้ระบุถึงรางวัลที่ได้จากการประเมินของหน่วยงานอื่นด้วย
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 1 เสนอแนวคิด / นโยบาย / การปฏิบัติ /
โครงสร?างเชิงนวัตกรรม
b. Please describe the indicators that were used (100 words maximum)
The “10 Major Project Assessment Index” is the
policy that citizens believe is the most important. Each index is comprised as
follows: LSAK Contest Assessment Index is sustainability (15%),
strengthened partnership capabilities (15%), analysis of
local community issues (10%), performance review (10%), evaluation and outcomes (10%),
on-site visit assessment (40%). Budget outcomes Assessment
index is creativity (20%), effort (20%),
ripple effect and systemization (20%), faithfulness to
intrinsic duties (20%), budget reduction effect and
profit-increasing outcomes (20%). Creative Seoul Action
Award Assessment index is difficulty (25%), effort (25%), effectiveness (25%), contribution to
city administration (25%).
คำแปลโดยสังเขป ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมิน “10 Major Project Assessment Index” เป็นนโยบายที่ประชาชนเชื่อว่ามีความสำคัญที่สุด
แต่ละตัวชี้วัดประกอบด้วย Local Sustainability Alliance of Korea (LSAK)
Contest Assessment Index ความยั่งยืน
(15%)
ศักยภาพการเป็นหุ้นส่วน (15%) การวิเคราะห์ปัญหาของท้องถิ่น (10%) การประเมิน
ตรวจสอบประสิทธิภาพ (10%), การประเมินผลและผลลัพธ์
(10%) การประเมินโครงการ
(40%) การประเมินผลของการใช้งบประมาณจากความคิดสร้างสรรค์ (20%) ความพยายาม (20%)
ความยืดหยุ่นและการจัดระบบ (20%) ความซื่อสัตย์ (20%) ประกอบด้วย การประหยัดงบประมาณและกำไรที่เพิ่มขึ้น
(20%) ตัวชี้วัดของ Creative Seoul Action Award Assessment index (25%),
ประกอบด้วย
ความพยายาม (25%), ประสิทธิผล (25%),
ผลงานการบริหาร
(25%)
บทวิเคราะห์ การตอบคำถามข้อนี้ มีการระบุตัวชี้วัดที่ชัดเจน
และเหตุผลของการใช้ตัวชี้วัด เนื่องจากประชาชนเชื่อว่าสำคัญ พร้อมทั้งระบุคะแนนของแต่ละตัวชี้วัด
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 1 เสนอแนวคิด / นโยบาย / การปฏิบัติ /
โครงสร้างเชิงนวัตกรรม
c. Please describe the outcome of the evaluation (100 words maximum)
The sexual health support project for low-income female teens was
selected as the third most revolutionary policy of SMG through a vote (6,611 people) in 2017. In 2016,
it was selected as the fifth most representative through a vote (132,590
people). In terms of awards given by SMG, the project received the Outstanding
Team Award at the 2016 Creative Seoul Action Awards, was
designated as a project for utilizing outside resources (budget outcomes) in 2017. In addition, the project received significant attention
from the media (total of 1,937 news reports, including
feature reports) and support from citizens.
คำแปลโดยสังเขป
ในปี พ.ศ. 2560
โครงการส่งเสริมสุขอนามัยทางเพศสำหรับวัยรุ่นหญิงผู้มีรายได้น้อย
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนโยบายที่โดดเด่นด้านนวัตกรรมอันดับสามของ SMG (มีผู้ออกเสียง6,611 คน) (ได้รับรางวัลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2559) สำหรับรางวัลที่ได้รับจาก SMG
โครงการได้รับรางวัลดีเด่น “the 2016 Creative
Seoul Action Awards” เนื่องจากโครงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้โครงการยังได้รับความสนใจจากสื่อ (รายงานข่าวจำนวน 1,937) และได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากประชาชน
บทวิเคราะห์ การตอบคำถามข้อนี้
ระบุผลลัพทธ์ที่ได้จากการประเมินในภาพรวมจากความพึงพอใจและการสนับสนุนจากประชาชนเป็นหลัก
และได้ระบุตัวเลขที่ได้จากการสำรวจ
และตัวเลขที่โครงการได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านการรายงานข่าว
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 1 เสนอแนวคิด / นโยบาย / การปฏิบัติ /
โครงสร้างเชิงนวัตกรรม
Question 9The
2030 Agenda for Sustainable Development puts emphasis on
collaboration, engagement, coordination, partnerships, and inclusion. Please describe
what and how stakeholders were engaged in designing, implementing and
evaluating the initiative. Please also highlight their roles and contributions
(200 words maximum)
Teens, academics, teachers, doctors, administrators and corporate heads
participated in the policy decision-making process. Partnerships were formed
during the work designation and negotiation process, uniting many employees and
departments involved in the operation of diverse public facilities. SMG
employees visited the Ministry of Education, Ministry of Health and Welfare,
schools and district offices to explain the project. A charitable foundation
founded a partner company to provide sanitary pads and other types of sanitary
products. Olive Young (a health & beauty distributor) promoted this project
on in-store screens at all of its 950 branches. Local
community groups also actively participated in the project through the
production and donation of reusable cotton sanitary pads. There was a
significant participation of citizens and expert groups. The online discussion
forum “Democracy Seoul” conducted a ballot and 1,475
citizens participated. Also, 1,473 female residents of
Seoul took part in a survey and gave diverse feedback on sanitary pads, which
was reflected at the early stages of the project. Women’s groups, academics,
and experts participated in diverse committees to monitor and assess the
various stages of the project.
คำแปลโดยสังเขป
วัยรุ่น ผู้เชี่ยวชาญ ครู/อาจารย์ แพทย์ หัวหน้าองค์กร
เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทางนโยบาย
ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือในระหว่างการทำงาน การเจรจา
ซึ่งสร้างความสามัคคีในกลุ่มคนงาน ในกระบวนการดำเนินงานนั้น พนักงานของ SMG เข้าไปอธิบายโครงการในส่วนราชการ
(กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ)
สำนักงานเพื่ออธิบายเกี่ยวกับโครงการ องค์กรการกุศลจัดเตรียมผ้าอนามัย Olive
Young ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามได้ประชาสัมพันธ์โครงการนี้ผ่านการโฆษณาในร้าน
950 สาขา และกลุ่มคนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการผลิต
และบริจาคผ้าอนามัยที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ซึ่งส่งผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน และผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ภายใต้ชื่อ “Democracy
Seoul” โดยมีผู้ร่วมลงคะแนน 1,475 ราย
และมีกลุ่มผู้หญิงจำนวน 1,473
คนที่อาศัยในกรุงโซลเข้าร่วมทำแบบสำรวจ และได้ให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานโครงการ
ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้เข้าร่วมการประเมินโครงการด้วย
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 1 เสนอแนวคิด / นโยบาย / การปฏิบัติ /
โครงสร?างเชิงนวัตกรรม ข้อที่ 2 จัดเตรียมการให้บริการที่มีคุณภาพแก่สตรี
ข้อ 4 ส?งเสริมการมีส?วนร?วมของกลุ?มสตรีในการตัดสินใจ
และการรับบริการสาธารณะ ข้อ 5 ส่งเสริมการตอบสนองความต้องการของกลุ่มสตรี
บทวิเคราะห์ การตอบคำถามข้อนี้ ได้ระบุกลุ่มผู้มีส่วนร่วมอย่างชัดเจน
แสดงให้เห็นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน เอกชน และภาครัฐ
รวมทั้งระบุบทบาทหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
และผู้ที่ทำหน้าที่การประเมินโครงการในฝั่งของประชาชนผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ
รวมทั้งช่องทางในการแลกเปลี่ยนและติดต่อกับประชาชน
Question 10
Please describe the key lessons learned, and any view you have on how to
further improve the initiative (100 words maximum)
In Korea, the topic of women’s sexual health was difficult if not
impossible to mention in public. In the project’s early stages, there were
disputes on whether the sanitary pad is an item that should be provided by a
public institution and on whether such provision is “reverse discrimination.”
SMG was able to make sanitary pads an openly discussed social issue and to
create a system to provide them to those in need. It is an achievement that
reflects SMG's commitment to securing safe and equal menstrual rights for all
women.
คำแปลโดยสังเขป ในสาธารณรัฐเกาหลี
ประเด็นสุขอนามัยทางเพศของผู้หญิงเป็นประเด็นที่ไม่มีการพูดคุยกันอย่างเปิดเผย
ซึ่งในระยะแรกของการดำเนินโครงการนั้นมีข้อโต้แย้งว่าผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ภาครัฐจะต้องจัดเตรียมให้หรือไม่
และจะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ แต่ SMG สามารถทำให้ประเด็นเกี่ยวกับผ้าอนามัยเป็นประเด็นที่มีสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเปิดเผยได้
ซึ่งเป็นความสำเร็จที่สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจของ SMG เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันของผู้หญิงทุกคน
บทวิเคราะห์ การตอบคำถามข้อนี้ ได้ระบุความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ที่ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทำให้เรื่องของสุขอนามัยทางเพศ ที่ไม่ได้รับการพูดคุยอย่างเปิดเผย แต่มีความสำคัญอย่างมาก ได้รับการหยิบยกเป็นประเด็นสาธารณะ นอกจากนี้มีการเน้นย้ำเรื่องความเท่าเทียมในประเด็นสุดท้ายของการตอบคำถาม ซึ่งสอดคล้องกับสาขาที่สมัครรับรางวัล UNPSA
ความสอดคล้องกับรายละเอียดของสาขาที่สมัคร (สาขาที่ 5) สอดคล้องกับข้อ 1 เสนอแนวคิด / นโยบาย / การปฏิบัติ / โครงสร้างเชิงนวัตกรรม ข้อที่ 2 จัดเตรียมการให้บริการที่มีคุณภาพแก่สตรี ข้อ 4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของกลุ่มสตรีในการตัดสินใจ และการรับบริการสาธารณะ ข้อ 5 ส่งเสริมการตอบสนองความต้องการของกลุ่มสตรีที่มา: Public Institutions and Digital Government Department of Economic and Social Affairs (2019),Public Sanitary Pads Support Policy, Retrieved September 13, 2019, from: https://publicadministration.un.org/unpsa/database/Home/Winners/2019-Winners/Public-Sanitary-Pads-Support