สถาบันทันตกรรม
ร่วมกับศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์
และศูนย์เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
ออกแบบอุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มารับบริการทางทันตกรรม
ชื่อว่า “dental platform” การดำเนินการดังกล่าวช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยสามารถทำฟันได้ในขณะที่ยังคงนั่งอยู่ในเก้าอี้ล้อเลื่อนของตนเอง
เพียงเคลื่อนเก้าอี้ล้อเลื่อนขึ้นไปบนแพลตฟอร์มก็สามารถเอียงเก้าอี้ล้อเลื่อนไปด้านหลัง
เพื่อให้ทันตแพทย์ทำฟันได้โดยสะดวก ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแต่อย่างใด
•
มีการบริหารการจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
เลขที่คำขอ 1202002547 และอนุสิทธิบัตรเลขที่คำขอ 1203000883 ซึ่งมีสิทธิ์ร่วมกันระหว่าง สวทช.
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรมการแพทย์
ท้ายที่สุดได้ถ่ายทอดสิทธิ์การใช้ประโยชน์ในงานวิจัยการพัฒนาเด็นทัลแพลตฟอร์ม
รุ่นที่ 2 ให้แก่ บริษัท ไทย เด็นทัล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เพื่อผลิตและจำหน่าย
ปัจจุบันได้วางจำหน่ายและมีสถานบริการภาครัฐจำนวนหนึ่งได้ซื้อไปใช้บริการ การประเมินคุณสมบัติทางวิศวกรรม
สามารถพัฒนาให้ได้ผลลัพธ์ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐาน
•
ประเมินความคิดเห็นของทันตแพทย์
ความพึงพอใจของทันตแพทย์ต่อการใช้งานเด็นทัลแพลตฟอร์ม
ระดับคะแนนอยู่ในค่าเฉลี่ยระหว่างปานกลางถึงสูง
ประชาชนผู้สูงอายุและประชาชนที่มีความพิการ สามารถเข้าถึงบริการทางด้านทันตกรรมเพิ่มมากขึ้น เพราะเด็นทัลแพลตฟอร์ม จะเป็นนวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกทำให้ผู้สูงอายุและผู้พิการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมได้ง่ายขึ้น ผู้ดูแล หรือญาติ เวลาพาผู้สูงอายุ หรือผู้พิการมารับบริการด้านทันตกรรม ได้รับความสะดวกโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเอง ลดการเกิดอุบัติเหตุได้หน่วยงาน/ทันตแพทย์ สามารถลดความเสี่ยงในการให้บริการทันตกรรมแก่คนพิการและผู้สูงอายุที่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนรวมทั้งเป็นแรงผลักดันกระตุ้นให้หน่วยงานใช้นวัตกรรมในการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ เป็นแนวทาง หรือ model
ให้หน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน
ใช้สำหรับผู้ที่ต้องการให้บริการทันตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุและที่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อน